[go: up one dir, main page]
More Web Proxy on the site http://driver.im/ข้ามไปเนื้อหา

ชะอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชะอม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Mimosoideae
สกุล: Senegalia
สปีชีส์: S.  pennata
ชื่อทวินาม
Senegalia pennata[1]
(L.) Maslin
ชื่อพ้อง
  • Acacia pennata (L.) Willd.

ชะอม เป็นพืชจำพวกอาเคเซีย นิยมรับประทานในทุกภาคของไทย เป็นพืชยื่นต้น ใช้ใบแก่และอ่อน เป็นสมุนไพร ของไทย ลำต้นของชะอมมีหนาม ใบมีขนาดเล็กและมีกลิ่นฉุน ดอกสีขาวหรือสีขาวนวลขนาดเล็ก ดอกย่อยรวมกันเป็นช่อกระจุก ทรงกลม แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 4-5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคนเป็นหลอด ปลายแหลมแยกเป็นแฉก รูปใบหอก จะเห็นชัดเจนเฉพาะเกสรเพศผู้เป็นเส้นฝอย ๆ ฝักแบน ยาว รูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 5-13 ซม.มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน ใบอ่อนของชะอมหรือส่วนยอดของใบสามารถนำมารับประทานได้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปแต่ละภาค โดยมากมักปลูกตามรั้วบ้านเนื่องจากมีหนามแล้วยังเป็นผักที่ทานได้ตลอดทั้งปี พืชอีกชนิดหนึ่งที่พบในประเทศ ซึ่งเป็นคนละสปีชีส์ย่อยกับชะอมคือผักคา[2]

การปลูก

[แก้]

ปลูกโดย การปักชำ เพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน โดยไม่ได้ต่อตาหรือชำกิ่ง ส่วนมากใช้การเพาะเมล็ด เนื่องจากได้ต้นที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศและยังมีหนามมากกว่าการปลูกด้วยวิธีปลูกแบบอื่น

รูปแบบการเพาะนำเมล็ดใส่ถุงพลาสติก รดน้ำวันละครั้ง เมื่อเมล็ดงอกทำการย้ายลงดิน ปลูกห่างกันประมาณ 1 เมตร บำรุงต้นด้วย ปุ๋ยสดหรือมูลสัตว์ การเก็บยอดควรเหลือยอดไว้ 3-4 ยอด เพื่อให้ต้นได้โต ควรปลูกในฤดูร้อนช่วยรดน้ำเจริญดีกว่าปลูกในฤดูฝนหากปลูกในฤดูฝนชะอม มีโอากาศเมล็ดเน่าได้มาก ชะอมไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวนหากพบโรคป้องกันโดยใช้ ปูนขาวโรยรอบโคนต้นหรือจุ่มท่อนพันธุ์ในน้ำปูนขาวก่อนปลูก ส่วนแมลงมีหนอนกินยอดชะอม ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดทุก ๆ 8 วัน ควรเก็บยอดชะอมหลังฉีดยาแล้วไม่น้อยกว่า 7 วันสามารถเก็บเกี่ยวจากต้นที่ปลูกกิ่งตอนได้ประมาณ 10 -15 วัน ตัดยอดขายได้ ทุก ๆ 2 วัน ควรบำรุงและดูแลต้นอย่างสม่ำเสมอ

การรับประทาน

[แก้]
ไข่เจียวชะอม
  • นำยอดชะอมมาต้มหรือลวก รับประทานร่วมกับน้ำพริก
  • ใส่ลงพร้อมไข่เจียว

สรรพคุณทางยา

[แก้]
  • ราก แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ่อ ขับลมในลำไส้[3]
  • แก้ลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง[4]

รายอ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-21. สืบค้นเมื่อ 2007-03-21.
  2. ปิยะ เฉลิมกลิ่น จิรพันธุ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กทม. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. 2551
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-21. สืบค้นเมื่อ 2007-03-21.
  4. http://www.eldercarethailand.com/index.php?option=com_content&task=view&id=476

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]